วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทนมาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองแสนบาท ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่ายมาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน อ่านเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน




สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีเหมาะสมกับงาน และในบทความนี้ขอแนะนำสำหรับคนที่กำลังมองหาคอมพิวเตอร์ดีๆ สักเครื่อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร..มาดูกัน
ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่

แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นพื้นฐานต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง?
มีส่วนสำคัญ 5 ส่วน ที่เป็นส่วนประกอบ ไม่สามารถขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปได้ เพราะถ้าหากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้
1. Input รับข้อมูล
เป็นอุปกรณ์ในส่วนที่รับข้อมูล โดยผ่านการป้อนข้อมูลเข้าไป เพื่อนำไปประมวลผล เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบัตร และเมาส์ ฯลฯ เป็นต้น
2. Output แสดงผล
เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล ที่ได้จากการประมวลผล เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้นเตอร์ ฯลฯ เป็นต้น

3. Central Processing ประมวลผล

เป็นหน่วยประมวลผล ที่ทุกคนมักเรียกว่า CPU ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญ ในการประมวลผลข้อมูล ที่ได้รับมาจากการ Input ข้อมูล
4. Memory หน่วยความจำ

เป็นหน่วยความจำ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ทุกคนเรียกว่า RAM เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บชุดคำสั่ง และข้อมูล ที่ระบบคอมพิวเตอร์ กำลังทำงานอยู่ หรือ เรียกอีกอย่างว่า หน่วยเก็บข้อมูลชั่วคราว นั่นเอง
5. Storage บันทึกข้อมูล

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ เก็บข้อมูลที่ได้ผ่านการ Input และ ประมวลผล มาเรียบร้อยแล้ว แล้วนำมาเก็บในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ฮาร์ดดิสก์
เตรียมสเปกในแบบของเรา
ขั้นแรก หากอยากจัดสเปกเองเป็น สิ่งที่ต้องมีก่อนคือ ความต้องการถามตัวเราก่อนว่าเราอยากได้คอม ฯแบบไหน ใช้แค่พิมพ์งานเอกสาร หรือพิมพ์งานสามมิติกับตัดต่อวิดีโอ 4K ใช้เล่นเกมขำ ๆ หรือเล่นเกม (กินสเปก)
            ถัดมา สิ่งที่ต้องมีอย่างที่สองคือ งบประมาณ  ซึ่งตามปกติงบขั้นต่ำของคอมฯประกอบจะอยู่ที่ 10,000 บาท หากเป็นสเปกในงบนี้ แม้จะได้คอม ฯที่ไม่แรงมากนัก แต่ก็สามารถนำไปต่อยอดได้หลายทาง จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
คอม ฯประกอบกับคอม ฯชุดต่างกันอย่างไร

คอม ฯชุด ก็ คือคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปพร้อมใช้งานทั่วๆไป


ข้อดี
: เสียบปลั๊กแล้วใช้งานได้เลย มีระบบปฏิบัติการกับโปรแกรมให้พร้อม มีประกันให้โดยเฉพาะ เวลาเสียก็ยกไปเครมทั้งเครื่องได้
ข้อเสีย : ส่วนมากจะใช้ PSU คุณภาพต่ำ สเปกที่ไม่คุ้มราคา
คอม ฯประกอบ คือ เราสามารถดีไซน์ลักษณะคอมพิวเตอร์ได้ตามใจชอบ เรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งก็ว่าได้ เราอยากให้มันมีรูปทรงแบบไหน มีสีอะไร มีอุปกรณ์ตกแต่งอย่างไร ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของเราล้วน ๆ




ขั้นตอนการเลือกสเปคของคอมพิวเตอร์


การเลือกสเปคคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่คุณต้องคำนึงมากที่สุด และขั้นตอนนี้แหละ ที่มือใหม่ ยังไม่ทราบว่า จะเลือกยังไงดี แต่ปัจจุบัน ร้านค้าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ PC หรือ โน๊ตบุ๊ค ก็จะมีสเปคของคอมพิวเตอร์ เขียนอธิบายไว้ หากคุณเดินเข้าไปเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ก็สามารถดูสเปคได้จาก ป้ายที่ติดไว้ หรือ ดูจากโบชัวร์ ก็ได้

1. CPU
การเลือกซื้อ CPU ต้องดูในเรื่องของความเร็ว ให้ตรงกับการใช้งานของคุณ การเลือกยี่ห้อ ที่นิยมกันมากที่สุด คือ Intel และ Amd ( ยี่ห้อ AMD จะมีความร้อนสูงกว่า Intel )

2. Ram
การเลือกแรม ที่ตรงกับ Mainboard ซึ่งในปัจจุบัน ควรเลือกประเภท DDR2 ขึ้นไป

3. Harddisk
การเลือกฮาร์ดิสก์ ให้ดูที่ความสามารถในการบันทึก ว่าสามารถบันทึกข้อมูล ได้จำนวนเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของการใช้งานของผู้ใช้ เช่น 320 GB และฮาร์ดิสก์ แยกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบจานหมุน (  มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 5400  และ 7200 ) และ SSD มีความเร็วในการอ่านข้อมูล มากกว่าแบบจานมูล ถึง 10 เท่า

4. Mainboard
การเลือกเมนบอร์ด ควรเลือกแบบที่เป็นมาตรฐาน ที่มีการเชื่อมต่อ PCI express สำหรับการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือ เพื่อรองรับการใช้งาน ในอนาคตได้

5. VGA Card
การเลือกการ์ดแสดงผล ควรเลือกดูที่ความเร็ว และความจุ ซึ่งที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ค่าย คือ Nvidia และ ATI

6. Monitor
การเลือกหน้าจอแสดงผล ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ เช่น ความคมชัด ขนาดของจอ เช่น ขนาดกี่นิ้ว แต่ปัจจุบันหน้าจอ ที่นิยมใช้กัน มีอยู่ 2 แบบ เป็นแบบ LCD และ LED




Thanks a million 

Data by ;
Picture by ;
www.google.com

สรุปหลักการแบบโบชัวร์  ที่นี่